การตรวจรับบ้าน ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนเซ็นรับมอบบ้าน และเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ เพราะต้องใช้ความรู้และความละเอียดรอบคอบในการตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าตัวบ้านสมบูรณ์ที่สุด หากตัวบ้านมีตำหนิ ก็สามารถแจ้งให้โครงการแก้ไขได้ทัน เพราะหากเซ็นรับมอบบ้านไปแล้ว โครงการอาจซ่อมแซมให้ล่าช้า หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- เตรียมตัวก่อนไปตรวจรับบ้าน

สิ่งแรกที่ต้องเตรียมตัวและศึกษารายละเอียดให้พร้อม คือ การตรวจสอบสัญญาจะซื้อจะขาย และเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางโครงการกำหนด หากมีข้อสงสัยติดใจตรงจุดไหนให้รีบสอบถามกับทางโครงการให้เรียบร้อย หลังจากนั้นจึงนัดหมายเวลากับทางโครงการเพื่อเข้าตรวจสอบความเรียบร้อยของบ้าน เตรียมรายละเอียดต่างๆ ของโครงการ รวมถึงเอกสารหรือใบโฆษณาต่างๆ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับตัวบ้านจริง
- อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง

- อุปกรณ์จดบันทึก (ดินสอ ยางลบ) สำหรับจดและแก้ไขได้ , สมุดจดโน้ต
- กระดาษ Post it , เทปพันสายไฟ , เทปกาวชนิดลอกออกง่ายโดยไม่ทำให้พื้นผิววัสดุเสียหาย
- กล้องถ่ายรูป
- ไฟฉายพกพา
- ตลับเมตร หรือสายวัด
- คัตเตอร์ หรือกรรไกร
- ขนมปัง นำมาใช้เพื่อทดสอบระบบชักโครกในห้องน้ำ
- ถุงมือ
- อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็กๆ สำหรับตรวจสอบปลั๊กไฟว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่
- จุดต้องเช็กก่อนตรวจรับบ้าน

- ภายนอกบ้าน :
- ประตูรั้วควรเลื่อนเปิด- ปิดได้คล่อง ลงกลอน ล็อกได้ แน่นหนาแข็งแรง ความสูงถูกต้อง ได้แนวตรง
- บ้านเลขที่และตู้จดหมายควรมีการิดตั้งครบ ถูกต้อง
- ไฟรั้ว เสา และกริ่นควรถูกติดตั้งอย่างเรียบร้อย ใช้งานได้ตามปกติ
2. โครงสร้างบ้าน
2.1 งานพื้นภายนอกภายใน
- พื้นโรงรถ ควรมีผิวเรียบ ไม่หลุดแตกร้าว น้ำไม่ขัง
- พื้นกระเบื้อง บัวเชิงผนัง สีไม่เพี้ยน ไม่มีรอยขีดข่วน ไม่บิ่น ไม่แตกร้าว
- ราวบันได ควรได้แนวฉาก ไม่คดเลื้อย ไม่บิ่น และแข็งแรง
2.2 งานผนังภายนอกภายใน
- ผนังฉาบเรียบ ผิวผนังควรเรียบ ไม่มีรอย ไม่แตกร้าว ไม่เอง ได้ดิ่งฉาก
2.3 งานฝ้าภายนอกภายใน
- ฝ้าไม่แตกร้าว ระดับความสูงถูกต้อง สีและพื้นผิวเรียบสม่ำเสมอ ไม่ต่าง
- ฝ้าชายคาได้ระดับ แนวขอบฝ้าได้ตรงดิ่งเสมอ
2.4 งานหลังคา และระเบียงกันสาด
- วัสดุมุงหลังคา ไม่บิ่น ร้าว แตก ไม่รั่วซึม ติดตั้งอย่างแน่นหนา
2.5. งานประตู หน้าต่าง
- ประตูและหน้าต่าง เป็นส่วนที่ต้องใช้งานเปิดปิดอยู่เรื่อย ๆ จึงควรตรวจสอบการใช้งานว่าสามารถเปิดปิดได้สะดวก แข็งแรง ขอบเรียบสม่ำเสมอ
3. งานสุขภัณฑ์
- ส่วนที่ต้องสัมผัสกับความเปียกชื้น จึงต้องดูอุปกรณ์การใช้งานต่าง ๆ ให้ติดตั้งแข็งแรง ฉาบเรียบร้อยไม่มีน้ำรั่ว
- ชักโครก สายชำระ ทดสอบโดยการใช้เศษขนมปังงไปในชักโครก และทดสอบการใช้งาน โดยสามารถไปตรวจสอบเศษขนมปังที่ถังบำบัดภายนอกตัวบ้านเพื่อดูประสิทธิภาพของชักโครกที่ทดสอบไปก่อนหน้า
4. งานไฟฟ้าและอุปกรณ์
- สวิตช์ไฟ และเต้ารับไฟฟ้า ต้องติดตั้งอย่างเรียบร้อย ใช้งานเปิดปิดได้ถูกต้อง
- หลอดไฟ โคมไฟต้องติดตั้งครบถ้วน หลอดไม่ขาด ไม่เลอะสี
- เต้ารับโทรศัพท์ สาย LAN โดยสามารถนำอุปกรณ์จริงมาตรวจสอบได้เลย

ระหว่างและหลังการตรวจรับบ้าน ก็คือ ควรจดบันทึกจุดตำหนิให้ครบถ้วน ทั้งการมาร์กจุดที่ตัวบ้าน และข้อมูลหรือรูปถ่ายที่เก็บไว้กับตัว เนื่องจากจะต้องใช้เปรียบเทียบอีกครั้ง หลังจากที่โครงการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
สำหรับลูกค้าที่ซื้อบ้าน SC Asset แล้วยังกังวลกับเรื่องการตรวจบ้าน เรามีคู่มือตรวจบ้าน โดย Sunflower Service เพื่อให้ลูกค้าได้อุ่นใจ ไม่ว่าจะตรวจบ้านด้วยตัวเอง หรือจ้างตรวจก็สามารถนำคู่มือนี้ตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อเพิ่มความสบายใจก่อนเข้าอยู่ได้ครับ
Leave a Reply