พาไปดูงานสถาปัตยกรรม ที่เชื่อในความหลากหลายและอยู่ข้างกลุ่ม LGBTQIA+

ในเดือนที่เต็มไปด้วยสีสันของสัญลักษณ์รุ้งจากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกที่บ่งบอกซึ่งความหลากหลายทางเพศ และยังมีผู้สร้างมากมายที่อยากจะรังสรรค์ผลงานเพื่อส่งต่อความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นบนโลกให้ทุกคนได้รู้
SC Asset จึงอยากชวนทุกคนมาดูผลงานสถาปัตยกรรมจากประเทศต่างๆ ที่สามารถสื่อสารให้คนทั้งโลกได้ถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและเท่าเทียมกัน

1.อนุสรณ์สถาน NYC LGBT MEMORIAL ที่ Hudson River Park

อนุสรณ์สถานอย่างเป็นทางการแห่งแรกสำหรับชาว LGBTQIA+ ผลงานของ Anthony Goicolea ช่างภาพและศิลปินศิลปะการจัดวาง (installation) ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐนิวยอร์กให้สร้างสรรค์ผลงาน หลังเกิดเหตุกราดยิงในออร์แลนโดที่บาร์เกย์ Pulse ในปี 2559 อนุสรณ์สถานแห่งนี้ตั้งอยู่ใน Hudson River Park ในแมนฮัตตัน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์ LGBT ของนิวยอร์ก และเป็นเกียรติแก่การต่อสู้เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกัน อนุสรณ์สถานนี้มีรูปแบบของก้อนหิน 9 ก้อน บางส่วนแบ่งด้วยแก้วที่ทำหน้าที่เป็นปริซึมและสามารถเปล่งรุ้งกินน้ำออกมาได้

2. The Cruising Pavilion ในเทศกาลเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 16

ผลงาน ‘Cruising Pavilion’ ที่จัดแสดงในงานนิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติครั้งที่ 16 หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อเวนิส เบียนนาเล่ พาทุกคนไปสำรวจสถาปัตยกรรมที่หลากหลายของสถานที่ให้บริการทางเพศในยุคของการหาคู่ออนไลน์ ผู้เยี่ยมชมจะเข้าไปในพื้นที่มืดที่มีแสงสลัวด้วยโคมไฟสีแดง และต้องปีนบันไดไม้เพื่อขึ้นไปบนหอคอยสองแห่งที่สร้างขึ้นภายในพื้นที่ และจะยังได้พบกับงานศิลปะที่แปะอยู่บนผนัง ฉายบนหน้าจอหรือพบบนพื้น

ตัวงานอธิบายถึงการแสวงหาการเผชิญหน้าทางเพศระหว่างชายรักร่วมเพศในที่สาธารณะ ที่ตอนนี้พื้นที่เหล่านั้นเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่เคยอยู่ในบาร์ มาอยู่ในแอพหาคู่แทน ทีมผู้สร้างจึงเรียกร้องให้สถาปนิกยอมรับการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมนี้ แทนที่จะขจัดเพศออกจากการวิธีคิดในการออกแบบอาคาร นับได้ว่านิทรรศการนี้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองให้ความหลากหลายและไม่จำกัดให้คู่รักไม่ว่าจะเป็นเพศไหนได้ค้นหาเสรีภาพทางเพศในที่พื้นที่สาธารณะ Cruising Pavilion สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความร่วมมือกับ Spazio Punch องค์กรส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมสมัยจากเวนิส ตั้งแต่ปี 2011

https://www.archipanic.com/cruising-pavilion/

3. A Space for All ผลงานที่คว้ารางวัลใน London Festival of Architecture 2018

‘A Space For All’ ผลงานของทีม Howkins/Brown ผู้ชนะการแข่งขันบนเวทีการประกวด ‘London Festival of Architecture 2018’ ที่ได้คว้ารางวัลจนได้ตัวแทนของสถาปัตยกรรมและสถาปนิก LGBT+ ในการเดินนำผลงานไปร่วมขบวนพาเหรด Pride ที่ลอนดอนในปี 2018

A Space For All เป็นผลงานที่มีหน้าตารูปทรงบ้าน มีโครงสร้างหลังคาแบบแหลมเรียบง่ายที่สร้างขึ้นโดยใช้เสานั่งร้านที่นำมาทาสีสีสดใส มาพร้อมกราฟิกสนุกๆ และเสียงเพลงดังกระหึ่มที่ช่วยสร้างบรรยากาศงานปาร์ตี้สุดมันตลอดเส้นทางของขบวนพาเหรด โดยมีสถาปนิกที่อยู่ในขบวนจะวาดภาพบนหน้าจอโปร่งใส และข้อความที่ร่วมเฉลิมฉลองความหลากหลายในที่เป็นไฮไลท์หลักของ Pride Day ระหว่างเดินขบวนพาเหรดนั่นเอง

หลังจากขบวนพาเหรด Pride in London ขบวนแห่จะถูกถอดออกจากกัน โดยมีการประมูลป้ายและกราฟิกเพื่อสร้างรายได้และตระหนักถึงสาเหตุของ LGBTQ+ ภายในอาชีพนี้ โดยเสานั่งร้านที่มีสีสันสดใสจะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในสถานที่ก่อสร้างสำหรับอาคารในอนาคตที่จะปรากฏให้เห็นรอบ ๆ เมืองในอีกหลายปีข้างหน้า https://www.londonfestivalofarchitecture.org/pride2019/

4. บันไดสีรุ้งขนาดยักษ์ในสวน Franklin D.Roosevelt Four Freedoms State Park นิวยอร์ก

Photograph by Cory Antiel

เพื่อเฉลิมฉลอง Pride month ประจำปี 2019 ในนิวยอร์ก และพื่อเป็นการระลึกถึงวันครบรอบ 50 ปีของการจลาจลของสโตนวอลล์ Fallon Kesicier กราฟิกดีไซน์เนอร์ได้แปลงโฉมบันไดในสวน Franklin D.Roosevelt Four Freedoms State Park  สวนสาธารณะที่สำคัญแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก ซึ่งได้รับการตั้งชื่อตามเสรีภาพ ทั้ง 4 อย่างที่ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt นิยามไว้ในสุนทรพจน์ ให้กลายเป็นทางเดินสีรุ้งอันงดงามขนาดใหญ่ยักษ์ ทำให้ที่นี่กลายเป็นพื้นที่แห่งเสรีภาพและความหลากหลาย ส่งผลให้มีชาวนิวยอร์กมาถ่ายรูปเช็กอินกับบันไดแห่งนี้กันเป็นอย่างหนาตา
www.fdrfourfreedomspark.org/blog/2020/6/27/celebrating-pride
www.dezeen.com/2019/06/19/ascend-with-pride-four-freedoms-state-park-louis-kahn-new-york/

5. พื้นที่ของชุมชนชาว LGBT ชาวยูกันดา ผลงานของ Enrico Chinellato และ Jacopo Donato จากอิตาลี

‘Uganda LGBT Youth Asylum Center’ คือเวทีการประกวดด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานของ Kamoga Hassan และนักเคลื่อนไหว LGBT ชาวยูกันดาคนอื่นๆ ที่ลุกขึ้นมาต่อต้านระบอบการปกครองที่ไม่ยอมรับการรักร่วมเพศ ทำให้ทุกการเคลื่อนไหวต้องเผชิญกับการกดขี่ข่มเหง แต่พวกเขาก็ยังคงดำเนินการต่อไปด้วยความพยายามอย่างกล้าหาญเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม

Enrico Chinellato และ Jacopo Donato คือศิลปินที่คว้างรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันนี้ ด้วยการออกแบบพื้นที่อาคารโครงร่างแบบเกลียว ทำให้ที่อยู่อาศัยค่อนข้างเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้ ในขณะเดียวกันก็รักษาพื้นที่ด้านในให้เป็นส่วนตัว รูปแบบของอาคารช่วยให้สามารถกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ในขณะที่ยังคงเอกลักษณ์และความโดดเด่นที่สามารถกลายเป็นสัญลักษณ์ของที่หลบภัยสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้ กรรมการตัดสินลงความเห็นกันว่าการออกแบบเกลียวแสดงถึงชุมชนที่ไม่ยอมแพ้และการต่อสู้ต่อความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเชื้อชาติไหน เพศไหน ที่ยังดำเนินอยู่ต่อไป https://architecturecompetitions.com/ugandanlgbtyouthasylum/