รวม “วิธีการจัดหิ้งพระ” ตามหลักฮวงจุ้ยที่ถูกต้อง

เพราะชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นหลายครอบครัวมี ‘หิ้งพระ’ ติดตั้งไว้เป็นสิริมงคล เป็นที่ เคารพบูชาและหลายคนเชื่อว่าได้ดูแลบ้านด้วย ซึ่งมีเทคนิคการจัดหิ้งพระแบบใดบ้าน บทความนี้ SC ASSET รวมวิธีจัดหิ้งพระตามฮวงจุ้ยมาแบ่งปันกัน

วิธีจัดหิ้งพระแบบติดผนัง

  1. วิธีจัดหิ้งพระควรติดตั้งที่ทิศใด

ควรติดตั้งหิ้งพระบริเวณเหนือศรีษะ ประมาณ 1.8 – 2 เมตร  ซึ่งตามความเชื่อแล้วให้ติดตั้งหิ้งพระ ไว้บริเวณศูนย์กลางของบ้าน และแต่ละทิศก็เสริมความสิริมงคลแตกต่างกันไป ได้แก่

  • ทิศตะวันออก เป็นทิศที่ช่วยให้การงานดี ได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง
  • ทิศทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างความร่ำรวย มั่งคั่ง และค้าขายเจริญรุ่งเรือง
  • ทิศเหนือ เชื่อว่าช่วยให้ไม่เจ็บ ไม่จน และมีแต่ความสุข
  • หลีกเลี่ยงทิศตะวันตก

2. วิธีจัดหิ้งพระไม่ควรติดตั้งที่ใด

ไม่ควรติดหิ้งพระผนังเดียวกับห้องน้ำ ซึ่งเป็นธาตุน้ำแต่หิ้งพระเป็นธาตุไฟจะหักล้างกัน ห้ามติดตั้งบริเวณประตูทางเข้าออก เพราะจะพลุ่นพล่าน อาจเกิดความวุ่นวายภายในบ้าน และไม่ควรติดตั้งหิ้งพระไว้ใต้คาน หรือใต้บันได เพราะเป็นที่ที่คนจะเหยียบหย่ำตลอดเวลา

3. ติดไฟเพื่อความสว่างไสว

ควรประดับไฟ Warm Light เพื่อความสว่างไสวและมองเห็นได้ชัดเจนตลอด นอกจากนี้ยังช่วยให้เราทำ สมาธิได้ดีขึ้นอีกด้วย

วิธีจัดหิ้งพระในห้องพระ

  1. เลือกห้องบนสุดของบ้านเป็นห้องพระ เพราะตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว ห้องพระควรอยู่ด้านบนสุดเพื่อ ไม่ให้ใครเดินเหยียบย่ำ นอกจากนี้ยังได้เรื่องความสงบ และความไม่พลุ่กพล่าน ซึ่งช่วยให้คนในครอบครัวที่ไหว้พระสวดมนต์ มีสมาธิมากยิ่งขึ้น

2. ไม่ควรตั้งไว้ที่ใด ไม่ควรตั้งห้องพระไว้ใกล้ๆ ห้องที่เป็นห้องเอนเตอร์เมนท์ ของบ้าน เช่น ห้องครัว ห้องร้องคาราโอเกะ หรือห้องเก็บของ

3. ติดตั้งหิ้งพระไว้บริเวณทิศเหนือและปล่อยให้ห้องโล่งกว้าง เพื่อสร้างพลังงานหมุนเวียนภายในห้อง

4. หันหน้าหิ้งพระออกไปทางนอกบ้าน เพราะหลักฮวงจุ้ยมีความเชื่อว่า จะช่วยคุ้มครองคนภายในครอบครัว และให้ได้พบแต่สิ่งดีๆ และมีความสุข

อีกหนึ่งความสำคัญ คือการดูแลหิ้งพระและห้องพระให้สะอาดและไม่มีสิ่งใดชำรุด ดังนั้นควรหมั่นดูแล ทำความสะอาดอยู่เสมอ เพราะมีความเชื่อว่าหากหิ้งพระสกปรกอาจทำให้คนในครอบครัวเจ็บป่วยได้ พร้อมทั้งควรตรวจสอบว่ามีสิ่งใดชำรุดหรือเสียหายหรือไม่ เช่น ขอบหิ้งพระหัก หรือไฟไม่ติด ฯลฯ ควรซ่อมแซมหรือหามาเปลี่ยนให้ให้เป็นห้องที่สมบูรณ์อยู่เสมอ