รวมรายละเอียด เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน ของคู่รัก LGBTQ+

แม้สังคมไทยจะเปิดกว้างเรื่องเพศแล้ว แต่คู่รัก LGBTQ ก็ต้องเผชิญกับปัญหาในเรื่องสิทธิ หน้าที่ที่ไม่สามารถ สร้างครอบครัวและได้สิทธิการเป็นคู่ชีวิตเฉกเช่นคู่ชาย-หญิง ทำให้ต้องเจอกับปัญหาหลายอย่าง อย่างเช่นการซื้อบ้านที่ไม่สามารถกู้ร่วมได้ ฯลฯ จนเมื่อปี 2563 ที่ ครม. ไฟเขียวผ่านร่างพรบ.คู่ชีวิตของ LGBTQ แม้จะยังไม่ได้ประกาศใช้จริง แต่ก็มีหลายธนาคารที่ที่อนุมัติให้ LGBTQ สามารถกู้ร่วมได้แล้ว 

ดังนั้ง SC Asset จึงรวบรวมรายละเอียดในการกู้ร่วมมาแชร์ให้คู่รัก LGBTQ ทุกคน

1.ธนาคารที่ให้กู้ร่วมได้แล้วมีอะไรบ้าง

ธนาคารคุณสมบัติวงเงินกู้สูงสุด
ไทยพาณิชย์ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี
จะต้องมีอาชีพมั่นคงและรายได้แน่นอน ต้องมีหนี้ไม่เกิน 70% ของรายได้
วงเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 90%
ธนาคารออมสินผู้กู้มีสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 65 ปี  ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมต้องมีหนี้ไม่เกิน 60% ของรายได้ วงเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 90%

ธนาคารกสิกรไทยผู้กู้จะต้องเซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกันและระบุในใบสมัครสินเชื่อว่ามีความสัมพันธ์เป็น ‘คู่รัก’ ระหว่างผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม 
เป็นผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยอายุรวมกับระยะ เวลาผ่อนไม่เกิน 70 ปี 
ทั้งผู้กู้หลักและกู้ร่วม และต้องมีหนี้ ไม่เกิน 70% ของรายได้
วงเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 90%
ธนาคารกรุงเทพผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม ต้องเป็นบุคคลที่มีรายได้ 20,000 บาท ขึ้นไป  ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี วงเงินกู้สูงสุดอยู่ที่ 90%
ธนาคารธนชาติมีอายุ 20 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี  ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมต้องมีหนี้ไม่เกิน 60% ของรายได้ วงเงินกู้สูงสุด 100%
ธนาคารยูโอบีผู้กู้ต้องมีสัญชาติไทย มีอายุ 21 ปีขึ้นไป  รวมระยะเวลาการผ่อนต้องไม่เกิน 75 ปีวงเงินกู้สูงสุด 100%

2.การคำนวนวงเงินการกู้ร่วม

การคำนวนวงเงินกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดจะมาจากการหารายได้สุทธิ หรือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด และลบหนี้รายเดือนแล้ว 

โดยปกติทางธนาคารจะคำนวนรายได้สุทธิของแต่ละบุคคลไว้ที่ประมาณ 60%-70% 

เช่น ถ้ามีรายได้ 30,000 บาทใช้สูตร

30,000 x 70% = 21,000

ลบด้วยหนี้สิน เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนสมาร์ตโฟนอีกเดือนละ 5,000 บาท เหลือสุทธิ 16,000 บาท

เมื่อรวมกับผู้กู้ร่วม ในทางกฎหมายจะต้องรับผิดชอบหนี้เป็นส่วนเท่าๆ กัน จึงมีเงินเหลือสุทธิรวมสองคนเท่ากับ 32,000 บาท

วิธีคำนวนยอดวงเงินกู้

ยอดผ่อนชำระหนี้สูงสุดต่อเดือน x 1,000,000 

7,000

จะเท่ากับ (32,000 x  1,000,000)/7,000 = 4,571,428 ~ 4,500,000 บาท

ดังนั้นวงเงินกู้สูงสุดที่เป็นไปได้คือราว 4,500,000 บาท

3.เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน

แต่ละธนาคารจะมีการขอเอกสารที่แตกต่างกันไปเพื่อยืนยันการเป็นคู่รักหรืออาศัยด้วยกันจริงๆ แต่ส่วนใหญ่เอกสารรับรองการอยู่ร่วมกันคร่าวๆ ในการเตรียมจะมีดังนี้ 

  • หนังสือรับรองเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน
  • สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
  • สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน


และมีเอกสารอื่นๆ ของผู้กู้ร่วม LGBTQ ที่ต้องเตรียมไปด้วย เช่น 

  • รูปถ่ายงานมงคลสมรส (ถ้ามี)
  • รูปภาพเพื่อยืนยันว่าเป็นคู่รักกันจริงๆ
  • ทะเบียนบ้านที่มีชื่อทั้งสองคน เพื่อยืนยันว่าอาศัยอยู่ด้วยกันจริง
  • ต้องเซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกันของทางธนาคาร
  • เอกสารในการกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นร่วมกัน เช่น รถยนต์ (ถ้ามี)
  • เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน (ถ้ามี)
  • ต้องเซ็นในใบสมัครสินเชื่อบ้านว่ามีความสัมพันธ์เป็นคู่รักกับผู้กู้หลัก

4.กรรมสิทธิ์ในการกู้ร่วมของคู่รัก LGBTQ

การกู้สินเชื่อบ้านของ LGBTQ นั้นจะต่างตรงที่กรรมสิทธิ์ผู้ถือครอง ซึ่งจะมีให้เลือก 2 แบบคือ แบบที่ 1 ใส่ชื่อคนเดียวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่เวลายื่นกู้มีผู้กู้ร่วม และแบบที่ 2 ใส่ชื่อผู้กู้ทั้ง 2 คน 

ให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารผู้ปล่อยกู้จะกำหนดว่าต้องเลือกแบบที่ 2 คือ ใส่ชื่อผู้กู้ทั้ง 2 คนให้เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่านั้น  

5.หากคู่รักแยกทาง

ดังนั้นหากคู่รักแยกทางกัน ในเมื่อกรรมสิทธิ์ของบ้านเดี่ยวเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จึงต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ โดยมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการด้วย 

สำหรับคู่รัก LGBTQ ที่ต้องการจะลงหลักปักฐานซื้อบ้านหรือคอนโดก็เตรียมเอกสารไปให้พร้อมแล้วเดินหน้าไปที่ธนาคารที่เราว่ามานี้ได้เลยครับ