หลังจากผ่านกรรมวิธีมากมายกว่าจะกู้บ้านในฝันให้ผ่านได้ ก็มาสู่ขั้นตอนของ การตรวจบ้าน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ควรปล่อยปละละเลยเด็ดขาด เพราะสภาพบ้านวันนี้ จะอยู่กับคุณไปอีกหลายสิบปี บางคนก็ส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ดังนั้น ‘การตรวจรับบ้าน’ ควรจริงจังและรอบคอบ แม้จะสามารถจ้างคนตรวจรับบ้านได้ แต่ถ้าคุณรู้เทคนิคและ เช็คลิสต์การตรวจรับบ้านเบื้องต้น ก็น่าจะเป็นข้อมูลที่ช่วยเหลือคุณในวันตรวจบ้านได้
SC Asset หยิบเทคนิคในการตรวจรับบ้านไม่ให้พลาดมาแชร์ให้ฟัง
1.เตรียมตัวก่อนไปรับบ้าน
นัดตรวจรับบ้านแต่เช้า เพื่อจะได้มีเวลาเช็กบ้านยาวๆ ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้เต็มที่

2. เตรียมอุปกรณ์ไปให้พร้อม
- กระดาษจดข้อมูล สามารถขอรายละเอียดของบ้านจากเซลล์ได้ เผื่อไว้เป็น ข้อมูลตรวจเช็กว่ามีโปรโมชั่นอะไร ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างจะได้เช็ก ว่าติดตั้งตรงตามที่เจรจาไว้หรือไม่
- ดินสอ ยางลบและปากกา เอาไว้จดรายการตามเช็กลิสต์
- ผังแบบแปลนบ้าน เพื่อวัดขนาดบ้านตอนตกลงซื้อ และตรวจสอบ ให้ครบทุกห้อง ทุกพื้นที่ในบ้าน
- ตลับเมตรหรือสายวัด
- อุปกรณ์ทำเครื่องหมาย เช่น เทปกาว เทปพันสายไฟ ชอล์ก
- ไฟฉาย ใช้ส่องบริเวณที่มืด
- ไม้ตรงยาว เพื่อตรวจสอบระนาบต่างๆ ว่าเรียบหรือไม่
- ลูกแก้วหรือลูกเหล็ก ใช้ทดสอบความลาดเอียงของพื้น
- กล้องถ่ายรูป ใช้บันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานประกอบการแจ้งซ่อม
- ปลั๊กไฟ – อุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ตรวจสอบปลั๊กไฟฟ้าว่าสามารถใช้งานได้
3. เตรียมเช็คลิสต์ตรวจรับบ้านไว้ให้พร้อม
ลิสต์ไปให้พร้อมก่อนไปตรวจรับบ้าน เดินตั้งแต่หน้าบ้านไล่เข้าไปทีละห้อง ที่ละมุม จดรายละเอียดที่ เจอในแต่ละห้องให้ดี ทำเครื่องหมายบนพื้นที่หากพบอะไรผิดพลาด หลังจากนั้น ให้ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน โดยเริ่มต้นอาจจะตรวจในบ้านก่อนแล้วไล่ออกมาที่ นอกบ้าน ระบบส่วนใหญ่ที่ตรวจสอบกัน มักจะมี 5-6 รายการ ดังนี้

พื้น
ตรวจพื้นทั้งเรื่องความเรียบร้อย ความลาดเอียง ความสมบูรณ์ของพื้นห้องทุกห้อง สำหรับพื้นกระเบื้อง ตรวจสอบความเต็มของปูนใต้กระเบื้องทุกแผ่น ด้วยการใช้ ลูกเหล็กเล็กๆ โยนกระทบแผ่นกระเบื้อง ถ้าแผ่นไหนมีเสียงกลวงๆอาจจะเกิดโอกาส ทำให้กระเบื้องแตกง่ายในอนาคต
ส่วน พื้นลามิเนต ให้ตรวจสอบความแน่นของการปูพื้นแต่ละแผนโดยอาจจะเหยียบไปเรื่อยๆ หรือถ้าเจอร่องการปูพื้นที่ไม่สนิทกัน ก็อาจจะทำให้น้ำซึมลงไป ทำให้แผ่นพื้นบวมได้ด้วย
ผนังกำแพง
ตรวจสอบรอยบนผนัง เช่น อาจจะมีรอยร้าว รอยแตก รอยต่อของผนัง การเก็บงานสีและ วอลเปเปอร์ว่าเสมอกันหรือไม่ มีสีหยดหรือทาเกินขอบผนังหรือไม่ การตรวจสอบผนังให้ เช็กทั้งในบ้านและนอกบ้าน ลามไปถึงบนเพดานด้วย
นอกจากนี้ต้องตรวจเช็กประตู หน้าต่างทุกบานว่าสามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ เช็กวัสดุของประตูหน้าต่าง การล็อก กุญแจไขใช้งานได้หรือไม่

ระบบไฟฟ้า
-ลองเปิด-ไฟทุกดวงในบ้านว่าใช่ได้หรือไม่ เตรียมไขควงวัดไฟเพื่อจิ้มที่น็อตของปลั๊กไฟ ว่ามีจุดที่ไฟรั่วหรือไม่เตรียมสายชาร์ตมือไว้ลองเสียบปลั๊กทุกจุดในบ้าน ว่าไฟเข้าเรียบร้อยดี
-เช็กอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งบ้าน เช่น เครื่องทำน้ำร้อนในห้องน้ำ หรือเครื่องปรับ อากาศทุกตัวว่าใช้งานได้จริง
-ปิดไฟทุกดวง เพื่อเช็กว่ามิตเตอร์ไฟวิ่งหรือไม่ เพราะถ้ายังวิ่ง หมายถึงไฟรั่ว ควรรีบแก้ไข
– ไฟนอกบ้านมีที่ป้องกันสวิตช์จากน้ำฝนหรือไม่

ระบบน้ำ
เช็กก๊อกน้ำทุกจุดในบ้านว่าไหลเป็นปกติหรือไม่ รวมถึงฝักบัว อ่างล้างจานและชักโครก ด้วย นอกจากนี้ยังต้องมองหาจุดรั่วซึมตามท่อต่างๆ ในห้องน้ำ ในครัว รอบบ้าน
ในส่วนของระบบท่อน้ำทิ้ง ลองเปิดน้ำให้ไหลไปเรื่อยๆ ว่าสามารถใช้งานได้ปกติ มีอุดตัน และระบบการระบายน้ำเช่นกัน สำรวจพื้นห้องน้ำวาดลาดเอียงเหมาะสมหรือไม่
โครงสร้างของหลังคา
การรั่วซึม ฉนวนกันความร้อน สายไฟใต้หลังคา เหล่านี้คือเช็กลิสต์การตรวจหลังคา ที่ครบถ้วน ในส่วนนี้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่ต้องปีนป่ายไปที่หลังคาอาจจะ เกิดอันตราย แนะนำให้ช่างมาช่วยตรวจสอบแทน หรือบอกเช็กลิสต์ไปกับตัวแทน ของโครงการ ให้เขาตรวจเช็กให้และถ่ายรูปมาประกอบน่าจะเป็นการปลอดภัยที่สุด
4. ส่งเอกสาร ก่อนเซ็นรับบ้าน
เมื่อตรวจบ้านแล้ว บันทึก และถ่ายรูปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการแก้ไขซ่อมแซมก่อนเซ็นรับโอน
5. ตรวจเช็กอีกครั้ง หลังการซ่อมแซมของโครงการ
เมื่อช่างประจำโครงการแก้ไขซ่อมแซมตามลิสต์ต่างๆ ที่เราแจ้งไปแล้วกลับมาตรวจเช็ก อีกครั้งตามจุดแก้ไขแต่ละจุด ตรวจสอบเช็กความเรียบร้อย ก่อนเซ็นรับมอบต่อไป
ขั้นตอนการตรวจรับบ้านเป็นขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สำหรับใครที่ไม่ได้มี ความรู้เรื่องงานช่างหรือเรื่องวัสดุของบ้าน การจ้างมืออาชีพให้เข้ามาช่วยตรวจบ้านน่าจะ เป็นทางเลือกที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม เพราะถ้าเจอปัญหาและต้องซ่อมเองทีหลังก็อาจจะเจ็บปวดกับ ราคาและเวลาที่ต้องเสียไป ด้วยความห่วงใยจาก SC Asset
Leave a Reply