แยกขยะ ยังไงให้ได้ประโยชน์

มาทำความรู้จักขยะกันก่อน

ในปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณขยะสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี และพบว่ามีปริมาณการเกิดขยะรวมกันทั้งประเทศ 27.06 ล้านตันต่อปี เทียบเท่าตึกใบหยก 2 จำนวน 140 ตึก เฉลี่ยผลิตขยะประมาณ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน

ขยะมูลฝอยสามารถแบ่งแยกได้ทั้งหมด 4 ประเภท โดยมีสัดส่วนดังนี้

  1. ขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้คิดเป็นร้อยละ 64 จากขยะทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจากอาหารเหลือทิ้ง

2. ขยะรีไซเคิล เป็นที่ขยะสามารถนำมาหลอมใช้ใหม่ได้ หากมีการแยกขยะอย่างถูกต้องและทำความสะอาดก่อนทิ้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของขยะทั้งหมด

3. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยากหรือนำไปรีไซเคิลแล้วไม่คุ้มทุน ต้องนำไปกำจัด ได้แก่ ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 3 ของขยะทั้งหมด

4. ขยะอันตราย เป็นขยะที่ต้องนำไปกำจัดหรือบำบัดด้วยวิธีเฉพาะ เช่น หลอดไฟ ขวดยา ถ่านไฟฉาย ยาฆ่าแมลง กระป๋องสี ขยะจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 3 ของขยะทั้งหมด

รู้หรือไม่? ขยะที่เป็นพลาสติกส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

เมื่อเราแบ่งร้อยละของการกำจัดขยะพลาสติก จะพบว่า 35% กำจัดอย่างถูกต้อง, 22% นำกลับมาใช้ได้ใหม่ ส่วนที่เหลือ 43% กำจัดไม่ถูกต้อง และอาจไหลลงทะเลเป็นปัญหาขยะทะเล

โดยถุงพลาสติกหนึ่งใบ มีอายุเฉลี่ยการใช้งานเพียง 14 นาทีแต่ใช้เวลาย่อยสลายกว่า 500 ปี

ซึ่งคนไทยใช้ถุงพลาสติก 123 ล้านใบต่อวันหรือกว่า 4.5หมื่นล้านใบต่อปี รัฐบาลไทยต้องใช้งบประมานในการจัดการขยะมากถึง 13,000 ล้านบาทต่อปี โดยในจำนวนนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่าย ในการรักษาเมื่อเกิดโรค รวมทั้งการจัดการดินเสียและน้ำท่วมจากการอุดตันของขยะ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในระยะยาว หากยังไม่มีการแก้ไขหรือจัดการการใช้ถุงพลาสติก อาจส่งผลกระทบที่มากกว่าที่คิดก็เป็นได้

แยกขยะทำไม?

การคัดแยกขยะ จะทำให้ขยะกลายเป็นทรัพยากรตั้งต้นในการผลิตสิ่งอื่นต่อได้ตาม หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งจะทำให้การบริโภคของมนุษย์มีความยั่งยืนมากขึ้นและเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าที่สุด

การไม่คัดแยกขยะนอกจากจะทำให้เกิดขยะปริมาณมหาศาลแล้วยังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นและโรคระบาดต่อผู้คนที่สัมผัสกับขยะด้วย

แยกยังไง?

ขยะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะย่อยสลายได้ และขยะอันตราย โดยทุกคนสามารถศึกษาขยะแต่ละชนิดได้ตามรูปด้านล่างเลยครับ

แยกแล้วไปไหน?

  • ขยะรีไซเคิล

         ที่ขายได้จะถูกส่งไปยังโรงงานรีไซเคิล เพื่อแปรรูปกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นอีกครั้ง เช่น ถ้วยพลาสติก จาน ชาม เสื้อผ้า หรือกระทั่งเอาไปเป็นส่วนผสมในการทำถนน ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่ายางมะตอยอย่างเดียวเสียอีกได้ทั้งลดปริมาณขยะ และได้ถนนที่ทนทานมากขึ้นด้วย

  • ขยะอินทรีย์

         ที่ยังไม่เน่าไปเสียก่อน จะถูกนำไปทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทำสวนและบำรุงต้นไม้ให้สวยงามทั่วกรุงเทพมหานคร

  • ขยะทั่วไป

         จัดเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก มีการปนเปื้อนและมีหลายประเภทปะปนกัน ขยะประเภทนี้จึงต้องกำจัดโดยการนำไปฝังกลบเท่านั้น

  • ขยะอันตราย

         มีโครงสร้างที่ซับซ้อนและอาจมีเชื้อโรคหรือสารเคมีอันตราย ดังนั้นจะถูกนำไปคัดแยกเฉพาะเพื่อเอาแร่ที่มีค่าออกมาใช้งาน ขยะติดเชื้อก็จะได้รับการเผาอย่างถูกต้อง

  • ขยะทั่วไป

         จัดเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก มีการปนเปื้อนและมีหลายประเภทปะปนกัน ขยะประเภทนี้จึงต้องกำจัดโดยการนำไปฝังกลบเท่านั้น

  • ขยะอันตราย

         มีโครงสร้างที่ซับซ้อนและอาจมีเชื้อโรคหรือสารเคมีอันตราย ดังนั้นจะถูกนำไปคัดแยกเฉพาะเพื่อเอาแร่ที่มีค่าออกมาใช้งาน ขยะติดเชื้อก็จะได้รับการเผาอย่างถูกต้อง

จากรายละเอียดข้อมูลข้างต้นเหมือนเป็นประตูบานแรกที่ทำให้ทุกคนได้ทำความรู้จักขยะ และได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวัน โดยทาง SC Asset ได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาขยะพลาสติกในไทย ด้วยการจัดทำโครงการ ‘#BeRightBack Circular Living’ Campaign

เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนตระหนักดีว่า ทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และเรายังมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้โดยการลดขยะต่างๆ ได้รู้จักและเรียนรู้การคัดแยกอย่างถูกต้อง เพื่อให้ครอบครัว ชุมชม ย่านที่อยู่อาศัย เป็นย่านที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน