เก็บตกเรื่องน่ารู้ จากงาน ‘NFT 101 presented by SC Asset’

จากความมุ่งมั่นของ SC ASSET ในการส่งมอบ Living Solutions คุณภาพมาตรฐานสูงให้กับทุกคน เรามองเห็นโอกาสในโลก NFT (Non-Fungible Token) ที่กำลังได้รับความสนใจจากทั้งนักสร้างสรรค์และนักลงทุนทั่วโลก ด้วยความเติบโตของตลาดนี้เอง เอสซีจึงได้มีการจัดงาน ‘NFT 101 presented by SC Asset เปิดชั้นเรียนกับเซียน NFT’ เพื่อเสริมสร้างทักษะและให้ความรู้แก่นักการตลาดและศิลปินรุ่นใหม่ที่สนใจในเรื่องของการลงทุนผ่าน NFT ให้มีความรู้ความเข้าใจตั้งแต่ขึ้นพื้นฐาน ไปจนถึงให้เคล็ดลับสำคัญที่นำไปใช้ต่อยอดได้ โดยงานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา บนช่องทาง Facebook live ของ SC ASSET 

สำหรับวันนี้เอสซีขอทบทวนบทเรียนในคลาส ชวนคุณมาเก็บตกเรื่องน่ารู้ของ NFTอีกสักครั้ง เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสเข้าสู่โลก NFT ในยุคต้นทางอย่างในวันนี้ 

1.NFT คืออะไร

NFT ย่อมาจาก Non-fungible Token เหรียญที่มีการเข้ารหัส ไม่สามารถทดแทน ไม่สามารถแบ่งย่อย ทำซ้ำ และสร้างใหม่ในรหัสเดิมได้ รวมถึงยังไม่สามารถส่งมอบได้ทีละส่วน ค่าของ 1 NFT จะมีค่าเท่ากับ 1 NFT ไม่สามารถขายแบ่งส่วนเป็น 0.5 NFT ได้ 

2. ลักษณะเฉพาะของ NFT  

  • เหรียญที่มีความเฉพาะเจาะจง
  • คงรูป ทดแทนกันไม่ได้
  • ผู้สร้างสามารถกำหนดให้มีเพียงชิ้นเดียว หรือทำสำเนาหลายชิ้นตั้งแต่ตอนสร้าง
  • แบ่งย่อยไม่ได้ แต่ละชิ้นมีลายเซ็น หมายเลขกำกับ หรือ DNA ทางดิจิทัล 

3. สร้าง NFT ในรูปแบบใดได้บ้าง?
Creator สร้างงาน NFT ไม่จำเป็นจะต้องเป็นศิลปินสร้างงานศิลปะภาพวาดเสมอไป สามารถสร้างงานได้ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Generative Art ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างงาน, Performance Art งานที่ใช้ร่างกายของผู้สร้างเอง เช่น การเต้น หรือการแสดง, NFT Photo ภาพถ่ายต่าง ๆ ที่เราสนใจ, Experiment and Conceptual Crypto Art งานทดลองในรูปแบบต่าง ๆ NFT Music ศิลปินสามารถแปลงเพลง ทำมิวสิกวีดีโอ แล้วนำมาขายในรูปแบบของ NFT รวมถึงงานยังสามารถผลิตออกมาในรูปแบบของ 1/1 Limited edition ที่มีชิ้นเดียวโดดไม่เกี่ยวข้องกับชิ้นอื่น และงานแบบ Collection ที่สร้างขึ้นมาเป็นชุด มีหลายภาพ

4.ผลิตงานแล้วลงขายในแพลตฟอร์มไหนดี?

แพลตฟอร์มในตลาดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีให้ครีเอเตอร์ได้เลือกลงขายมากมาย เช่น Opensea, LooksRare, Rarible, Crypto.com, JNFT เป็นต้น 

5. เป็นศิลปินหน้าใหม่ เริ่มต้นขายงานอย่างไรดี? 

เริ่มต้นจากการประชาสัมพันธ์ตัวเองผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ เช่น ในทวิตเตอร์ หรือ Clubhouse พร้อมทั้งใส่ข้อมูลส่วนตัวของเรา (Bio) ติดแฮชแท็กที่เหมาะสม เข้าร่วมกิจกรรมในแวดวงของ NFT เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักสะสม และต้องไม่ลืมตรวจสอบตัวเองทุกครั้งเมื่อเกิดการขายได้หรือขายไม่ได้ ให้วิเคราะห์หาสาเหตุเหล่านั้น โดยอาจจะลองปรึกษาเพื่อนศิลปินผู้สร้างงานคนอื่น ๆ หรือใช้วิธีเสพงานของคนอื่นที่ขายได้ให้มาก สิ่งสำคัญ คือให้เรามีความสุขกับการทำงานอย่าเปรียบเทียบ อย่าท้อใจ เพราะศิลปินหลายคนก็ไม่ได้ขายงานได้ในช่วงเริ่มแรกเช่นเดียวกัน 

อีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยให้ขายงานได้ง่ายขึ้น คือการร่วมทำงานข้ามสาย เช่น กราฟิกร่วมงานกับนักดนตรี หรือจะเป็นการส่งงานในโลกจริงให้ผู้ซื้อไปด้วยพร้อมกันเพื่อสร้างความสนใจก็ได้เช่นกัน 

6. แบรนด์ใหญ่มองเห็นโอกาสใน NFT 

ศักยภาพของ NFT เข้าตาหลายบริษัทขนาดใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Meta ที่มีการแถลงถึงวิสัยทัศน์ Metaverse ที่จะใช้ NFT เป็นตัวกลางในการซื้อขายสินทรัพย์ในโลก หรือใน YouTube เองก็กำลังสำรวจการใช้งาน NFT เพื่อสร้างรายได้ให้ครีเอเตอร์บนแพลตฟอร์ม และที่ชัดเจนที่สุดอย่าง Twitter Blue ที่เปิดให้แสดงความเป็นเจ้าของ NFT และนำมาแสดงเป็นภาพโปรไฟล์ในทวิตเตอร์ โดยแสดงภาพเป็น 6 เหลี่ยม เพื่อสื่อสารว่าได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเจ้าของ NFT จริง ไม่ได้เพียงแค่นำภาพมาใช้เฉย ๆ

 7.เมื่อ NFT มีมูลค่าสูงขึ้น อันตรายก็มากขึ้นเช่นเดียวกัน
หากสนใจจะซื้องาน NFT สักชิ้นอย่าลืมตรวจสอบว่าภาพของครีเอเตอร์ที่เราสนใจเป็นของจริงหรือเปล่า ได้ลอกงาน ขโมยภาพคนอื่นมาขายเราหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบเครื่องหมาย Verified ของ OpenSea แต่ก็ไม่ได้แปลว่า ครีเอเตอร์ที่ไม่มีเครื่องหมาย Verified จะเชื่อถือไม่ได้ เพราะกระบวนการขอ Verified นั้นใช้เวลาขอค่อนข้างนาน ทางที่ดีควรตรวจสอบประกอบกับการดูรายการซื้อขายย้อนหลังว่าเป็นบัญชีที่มีคนซื้อจริงหรือเปล่า หรือสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกคนให้เข้าใจผิด

8. คว้าโอกาส NFT วันนี้ยังทัน 

ในโลกของ NFT ยังมีโอกาสที่รอให้เราเข้าไปทำอยู่อีกมาก ยังมีตลาดงานขนาดใหญ่ที่น่าสนใจอยู่อีกเยอะ เพราะฉะนั้น 

เตรียมตัวให้พร้อมโดยเลือกจากความถนัด ความสนใจ ความต้องการของตัวเรา แล้วเข้าไปคว้าความสำเร็จเสียตั้งแต่วันนี้ยังมีโอกาสให้เราอีกมหาศาล