รู้ไว้ไม่พลาด! 5 ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านและคอนโด

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ามีวิธีลดดอกเบี้ยบ้านและคอนโดด้วยวิธีการรีไฟแนนซ์อยู่เมื่อผ่อนไป 3 ปีแล้ว ทำให้เสียโอกาสที่จะได้ผ่อนบ้านและคอนโดให้หมดเร็วๆ และเสียดอกเบี้ยน้อยลง SC Asset จึงอยากแนะนำวิธีการรีไฟแนนซ์บ้านและคอนโดแบบง่ายๆ ว่าต้องทำอะไรบ้าง และข้อควรระวังว่าควร รีไฟแนนซ์บ้านและคอนโดอย่างไรให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงๆ 

เริ่มจาก รีไฟแนนซ์คืออะไร รีไฟแนนซ์ก็คือการย้ายไปผ่อนกับธนาคารใหม่โดยจะต้องผ่อนบ้าน หรือคอนโดมามากกว่า 3 ปี (แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร) ซึ่งธนาคารใหม่จะให้ดอกเบี้ยถูกกว่า ทำให้ผ่อนชำระต่อเดือนถูกลง ผ่อนหมดเร็วขึ้นนั่นเอง ต้องเริ่มยังไง เราหยิบ 5 นตอนการรีไฟแนนซ์ควรเริ่มต้นมาเล่าให้ฟัง

1.ตรวจสอบรายละเอียดของธนาคารให้ดี  

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์ ขั้นตอนแรก ต้องทำความเข้าใจเรื่องธนาคารก่อน ไม่ใช่ว่าดอกเบี้ยถูกและจะมีเงื่อนไขเยอะแยะกลายเป็นข้อผูกมัดที่ไม่ส่งผลดีต่อการรีไฟแนนซ์ครั้งนี้ก็เป็นได้ จริงๆ แล้วควรสอบถามกับธนาคารเดิมก่อนเพื่อเจรจาปรับลดดอกเบี้ยเพื่อลงความยุ่งยาก ในการทำ รีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น แต่หากข้อตกลงนี้ไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก ก็สามารถสอบถามกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งเราหยิบอัตราดอกเบี้ยของการรีไฟแนนซ์ของแต่ละธนาคารมาให้ดูเป็นตัวอย่างกัน ดังนี้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ของธนาคาร (มกราคม 2564 : SC Asset รวบรวม) 

ธนาคาร อัตราดอกเบี้ยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี
ธนาคาร TMBปีที่ 1: 1.89% 
ปีที่ 2: 1.89% 
ปีที่ 3: MRR-1.98%
ปีที่ 4: MRR-1.63%

3.98%
ธนาคารกรุงไทยตั้งแต่ 1 ล้าน แต่ไม่ถึง 1.5 ล้าน
ปีที่ 1: 0.75% 
ปีที่ 2-3: MRR 1.85% 
หลังจากนั้น : MRR – 1. 50%
3.66%
ธนาคารกสิกรไทยปีที่ 1: 0.75%
ปีที่ 2: MRR-2.15%
ปีที่ 3: MRR-2.15%
หลังจากนั้น : MRR-1.75%
3.48%

เราหยิบยก 3 ธนาคารมาเป็นตัวอย่าง ว่าแต่ละธนาคารก็มีเงื่อนไขเล็กๆ น้อยๆ ที่ต่างกันไป เช่น เงินต้นของวงเงินกู้เป็นระดับ 1 ล้าน 2 ล้าน ฯลฯ และยังมีรายละเอียดของบุคคลที่รีไฟแนนซ์ด้วยว่า เป็นบุคลที่ทำงานประจำหรือเป็นฟรีแลนซ์ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ได้ก็จะแตกต่างกันไป

2.คำนวณงวด ทั้งเก่าและใหม่

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์ ลองคำนวนให้ดี ว่าเมื่อรีไฟแนนซ์แล้ว จะประหยัดค่างวดลงได้เยอะหรือไม่ ซึ่งมีเว็บไซต์มากมายที่มี โปรแกรมช่วยคำนวน เช่น www.refinn.com และตามเว็บไซต์ทางการของแต่ละธนาคาร ก็จะมีโปรแกรมช่วยคำนวนว่าจากดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ได้ ประหยัดไปกว่าเดิมเท่าไหร่ และคุ้มค่ากับการดำเนินการครั้งนี้หรือไม่

3.ติดต่อธนาคารเก่าและใหม่

ติดต่อธนาคารเก่าเก่าเพื่อสรุปยอดหนี้เงินกู้ และนำเอกสารสรุปยอดหนี้ที่ได้มาไปทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคาร ใหม่ที่เราจะขอกำลังจะขอรีไฟแนนซ์

4.พิจารณารวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นว่าคุ้มค่าหรือไม่ 

ตรวจเช็คค่าอื่นๆ ที่ต้องเสียให้ดีด้วย เช่น

  • ค่าประเมินราคา ประมาณ 2-3 พันบาท (โปรโมชั่นบางธนาคาร ฟรีค่าประเมิน)
  • ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้ (โปรโมชั่นบางธนาคาร ฟรีค่าจดจำนอง)
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร เช่น ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ
  • ประกันอัคคีภัย (ประกันอัคคีภัย ต้องทำทุก 1-3 ปี ตามกฎหมาย)

ถ้าหากคำนวนความคุ้มค่าของการเตรียมเอกสารและเงินครั้งนี้แล้วช่วยลดดอกเบี้ยของบ้านที่เรารักได้แสน-สองแสนก็ถือว่าคุ้มค่าเหนื่อยแล้วล่ะ SC Asset ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่าน ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์ เหล่านี้ไปให้ได้ครับ