ดูแลจิตใจในช่วงโควิด 19 ตามคำแนะนำจาก WHO

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ชวนให้ทุกคนรู้สึกไม่ปลอดภัย วิตกกังวลว่าจะติดเชื้อ หรือนำเชื้อไปติดคนในครอบครัว ไปจนถึงความรู้สึกเศร้าหดหู่เมื่อได้รับรู้เรื่องราวของผู้คนที่เจ็บป่วยล้มตาย เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาแบบนี้นอกจากเราจะต้องรักษาสุขภาพร่างกาย ป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัดแล้ว เรายังต้องกลับมาดูแลสภาพจิตใจให้แข็งแรงควบคู่กันไปด้วย

SC Asset นำข้อแนะนำในการดูแลจิตใจในช่วงโควิด 19 จากองค์การอนามัยโลก (WHO) มาฝากทุกคนกัน

1.รับรู้ว่าความกลัวและความวิตกกังวลนี้เป็นเรื่องปกติ

ในช่วงเวลาแห่งการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ซึ่งถือเป็นโรคใหม่ของโลก จึงเป็นเรื่องปกติที่เราจะรู้สึกหวาดกลัวและวิตกกังวล การได้พูดความรู้สึกของเราออกมาให้คนที่เราไว้ใจรับฟังจะช่วยให้ความเครียด ความทุกข์ลดลงได้

2.กำหนดเวลาในการอัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับโควิด

เลือกช่วงเวลาในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโควิด โดยอาจจะเลือกรับข้อมูลจากการฟังข่าวช่วงเช้าและช่วงเย็น รวมถึงการจำกัดเวลาในการเล่นโซเชียลมีเดีย เพราะการเปิดรับข้อมูลที่มากเกินไปนอกจากจะไม่ได้ทำให้เราได้โฟกัสข่าวที่สำคัญในแต่ละวัน ยังทำให้เพิ่มความวิตกกังวและความหดหู่ได้ และควรใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการทำในสิ่งที่เราชื่นชอบและผ่อนคลายจะช่วยได้เป็นอย่างมาก

3.ให้การสนับสนุนและขอบคุณบุคลากรแนวหน้า

ทั้งบุคลากรการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงกลุ่มอาสาสมัครภาคประชาชน ล้วนทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยให้พวกเราทุกคนปลอดภัย สนับสนับสนุนพวกเขาหากคุณสามารถทำได้ รวมถึงกล่าวคำขอบคุณเพื่อให้พวกเขาได้กำลังลังใจในการทำงานต่อไป

4.เป็นอาสาสมัครช่วยเหลือคนในชุมชน

หากคุณสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ ลองสมัครเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือคนในชุมชน หรือร่วมเป็นหนึ่งในกลุ่มอาสาสมัครที่ช่วยเหลือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด การช่วยเหลือผู้อื่นทำให้เราระลึกอยู่เสมอว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวได้โลกในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้สภาพจิตเราดีขึ้นได้และยังทำให้ได้เชื่อมโยงกับผู้อื่นอีกด้วย

5.บุคลากรแนวหน้าหากรู้สึกเครียดให้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจ

บุคลากรแนวหน้าที่ต้องเผชิญหน้ากับโรคโควิด ที่มีทั้งความกดดันทั้งจากผู้ป่วย ญาติ ต้องห่างจากครอบครัว และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าบุคคลอื่น ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึก ตึงเครียด โกรธกังวลใจ กลัว หดหู่ ท้อแท้ และเหนื่อยล้าจากหน้างานที่ต้องเผชิญได้มากกว่าปกติ ให้ลองพูดคุยระบายความคิด ความรู้สึกที่มีอยู่ให้กับเพื่อนร่วมงานที่เราไว้ใจ หากไม่รู้สึกดีขึ้น เช่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ใจสั่น ควรปรึกษาบุคลากรสุขภาพจิต เช่น ทีม MCATT, จิตแพทย์ในหน่วยงานของท่าน หรือโทรสายด่วน (Hotline) หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต

6.การรักษาความสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ

หากคนใกล้ตัวติดเชื้อโควิด อย่าละเลยในการดูแลเอาใจใจพวกเขา ให้กำลังใจพวกเขามากๆ ด้วยการติดต่อพูดคุยกันทางโทรศัพท์ วีดีโอคอลหากัน หรือจะส่งข้อความให้กำลังใจ ก็จะช่วยให้สุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อดีขึ้นได้เป็นอย่างมากระหว่างที่พวกเขาต้องแยกตัวออกมาใช้ชีวิตคนเดียว


7.ส่งกำลังใจให้ครอบครัวที่สูญเสียคนที่รักจากโควิด-19

การสูญเสียคนที่เรารักเป็นเรื่องยากเสมอ ส่งกำลังใจให้กับครอบครัวผู้สูญเสีย เพื่อให้พวกเขาได้รับรู้ว่ายังมีคนที่คอยห่วงใย เขาไม่ได้เดียวดายในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากแบบนี้

8.สร้างกิจกรรมให้เด็กได้เล่นและออกกำลังกาย

เด็กๆ อาจรู้สึกกระสับกระส่ายและเครียดเมื่ออยู่ในบ้านและเรียนออนไลน์ที่บ้านเนื่องจากโรงเรียนปิด การเล่นและการออกกำลังกายอย่างสร้างสรรค์สามารถช่วยบรรเทาความเครียดและรักษาสุขภาพจิตได้

9.เติมความรักให้ผู้ใหญ่ในบ้าน

ดูแลผู้สูงวัยในบ้านที่พวกเขาอาจจะรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวเมื่อต้องกักตัวอยู่ในบ้านไม่ได้ออกไปพบปะพูดคุยกับเพื่อนบ้าน หากอยู่บ้านเดียวกันควรดูแลพวกเขาไม่ให้วิตกกังวลมากเกินไป หากอยู่คนละบ้านหมั่นโทรศัพท์หา หรือวิดีโอคอล เพื่อแสดงความรักและความห่วงใยก็จะช่วยรักษาสุขภาพจิตของพวกเขาได้

10.กำหนดเวลาทำงานให้เป็นปกติในช่วง Work From Home

หากคุณต้องทำงานจากที่บ้านเนื่องจากโควิด19 ให้กำหนดเวลาการทำงานที่ชัดเจน เวลาทำงานกี่โมงถึงกี่โมง พักกลางวันในช่วงเวลาไหน รวมถึงการหยุดพักระหว่างวัน ก็จะช่วยให้ลดความตึงเครียดจากการทำงาน และทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลจาก
www.who.int/westernpacific/emergencies/covid-19/information/covid-19-mental-health